Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดดนางพญา จ.พิษณุโลก

supachai
(@supachai)
Noble Member Registered

พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดดนางพญา จ.พิษณุโลก

พระนางพญา เป็นพระยอดนิยม จัดเป็น 1 ใน 5 ของพระชุดเบญจภาคี พระนางพญา เป็นพระเครื่องดินเผา ใช้เส้นตอก ตัดกรอบ และมีคำวลีที่โบราณกล่าวว่า

 

หูยานถึงบ่า หนาเท่าเส้นตอก หักศอกเป็นเบ็ดกุ้ง

การพิจารณาผู้รู้กล่าวไว้ว่า หนาเท่าเส้นตอกไม่ใช่กฏเกณฑ์ตายตัว ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอน ขึ้นกับผู้กดพิมพ์

การตัดด้วยเส้นตอกมักปรากฏทั้งสามด้าน ชัดเจนบ้างน้อยบ้าง หรือบางองค์อาจไม่มีเลยก้อเป็นได้ โดยลักษณะรอยเส้นตอกเป้นเส้นทิวนูนเป้นร่องรางวิ่งจากด้านองค์พระไปด้านหลัง อีกอย่างพระนางพญา จ.พิษณุโลกจะแตกต่างกับ จ.กำแพงเพชรเพราะมีเม็ดแร่ทุกองค์ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการดูรอยตัดตอกซึ่งเกิดจากเม็ดแร่ครูดกับผิวพระ จึงทำให้มีรอยที่ไม่เหมือนกันในแต่ละด้าน

รอยตัดตอกมีกี่แบบ

  • แนวดิ่ง
  • ทะแยงลง
  • ทะแยงขึ้น
  • ฟันเลื่อย
  • ตอกระดับ

ของปลอมพยายามทำเลียนแบบแต่จะสึกและเป็นทิวนูนมามากและคมจนน่าเกลียดหรือขาดธรรมชาติ

ลักษณะผิวนางพญา

เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียด ผิวจะปรากฏเป้นสีเหลืองนวล ๆหรือสีที่อ่อนกว่าสีที่แท้ขององค์พระ จับอยู่ตามผิวของเนื้อทราย และมีอยู่มากตามซอกต่าง ๆ คล้ายคราบ ลักษณะผิวปลอมไม่สามารถทำลักษณะที่กล่าวมานี้ขึ้นมาได้

ขนาด

ฐานกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร สูงประมาณ 3 เซนติเมตร

จุดสังเกตุพระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดดนางพญา จ.พิษณุโลก

2021-11-02-195316 

1. ไรพระศกวาดโค้งและอยู่สูง ทำให้แลดูคล้ายศรีษะเถิก
2. พระพักตร์เป็นรูปผลมะตูม มีความโค้งคล้ายหลังเต่า
3. ปลายพระกรรณขวา จรดบ่า
4. ปลายจีวรบนเลยล้ำเข้าซอกคอ
5. โคนแขนใหญ่และค่อยๆเรียวเล็กที่ต้นแขน ส่วนพระหัตถ์เล็กพาดสุดเข่า
6. พระพาหาซ้ายองค์พระแอ่นโค้งแผ่วมาก ตรงข้อศอกเป็นจะงอยยื่นออกมา
7. ปลายแขนซ้ายองค์พระโค้งเป็นขอเบ็ด ปลายพระหัตถ์ทู่
8. ปลายสังฆาฏิส่วนล่างบานผายออกเล็กน้อย
9. พระอุทรเป็นลำกระบอก โย้มาทางขวามือเราเล็กน้อย
10. กลางเข่าเป็นแอ่งโค้ง อันเป็นเอกลักษณ์ชื่อเรียกพิมพ์

 

วัดนางพญา จ.พิษณุโลก ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ ‘วัดใหญ่’ และ วัดราชบูรณะ เป็นแหล่งค้นพบพระเครื่องพิมพ์สำคัญ “พระนางพญา” 1 ในพระชุดเบญจภาคีที่เลิศเลอค่า ถึงแม้จะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่เมื่อทราบประวัติความเป็นมาแล้ว ก็นับเป็นหนึ่งวัดสำคัญในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพราะ ......

นาม “วัดนางพญา” นั้น สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากชื่อของ พระวิสุทธิกษัตริย์ตรี พระอัครชายาของพระมหาธรรมราชา และพระราชมารดาของพระสุพรรณกัลยา, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าทรงสถาปนาพระอารามแห่งนี้ ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นแม่เมืองสองแคว ในคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะราวปี พ.ศ.2090 – 2100 และทรงสร้าง “พระนางพญา” บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามคติความเชื่อแต่โบราณ กาลต่อมาวัดนี้ถูกทิ้งร้างเป็นเวลานานเนื่องจากศึกสงคราม กระทั่งเมื่อมีการขุดค้นพบ ‘พระนางพญา’ วัดนางพญาจึงกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งหนึ่ง

มูลเหตุอีกประการหนึ่งคือ ถ้าพิจารณาจากพุทธลักษณะจะเห็นได้ว่า องค์พระแทบทุกพิมพ์จะมีความงดงามสง่า โดยจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอดอ่อนช้อยคล้ายกับ “อิสสตรี” จึงเรียกกันว่า “นางพญา” และได้รับสมญา “ราชินีแห่งพระเครื่อง” ซึ่งสนับสนุนข้อสันนิษฐานแรกได้เป็นอย่างดี

พระนางพญา มีการขุดพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2444 โดยทางวัดดำริสร้างศาลาเล็กๆ ขึ้นบริเวณด้านหน้าของวัด เพื่อเป็นปะรำพิธีในการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ครั้นพอขุดหลุมจะลงเสาก็ได้พบ ‘พระนางพญา’ จำนวนมหาศาลฝังจมดินอยู่กับซากปรักหักพัง จึงได้เก็บรวบรวมไว้ และเมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ไปวัดนางพญา ก็ได้นำพระนางพญาส่วนหนึ่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ครานั้นพระองค์ทรงแจกจ่ายแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จกันโดยถ้วนหน้า ดังนั้น พระนางพญาส่วนหนึ่งจึงมีการนำกลับยังกรุงเทพมหานคร

ต่อมาในราวปี พ.ศ.2470 สมัย พระอธิการถนอม เป็นเจ้าอาวาส องค์พระเจดีย์ด้านตะวันออกของวัดได้พังลง ก็ปรากฏพบพระนางพญาอีกจำนวนหนึ่ง ดังบทความที่ “ท่านตรียัมปวาย” ได้เขียนไว้ในหนังสือ “ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่มที่ 2 เรื่อง นางพญาและพระเครื่องสำคัญ ว่า ‘... มีโอกาสได้พบผู้ใหญ่เลี่ยว ปาลิวณิช นักพระเครื่องอาวุโสของจังหวัดพิษณุโลก ท่านเล่าว่า “กรุพระนางพญา” เป็นพระเจดีย์ที่พังทลายฝังจมดินอยู่บริเวณด้านหน้าของวัด ตรงหน้ากุฏิท่านสมภารถนอม มีการขุดพบพระนางพญา ได้พระเป็นจำนวนมาก ในคราวนั้นปรากฏว่าชาวเมืองพิษณุโลกไม่ได้ให้ความสนใจ ดังนั้น พระนางพญาที่ถูกค้นพบจึงถูกเก็บไว้ที่วัดนางพญา และบางส่วนอาจถูกนำไปบรรจุกรุยังที่อื่นๆ อีกด้วย ...’

 2021-11-02-195419

พิมพ์เข่าโค้ง

ตามประวัติความเป็นมาต่างๆ ของ “พระนางพญา วัดนางพญา” เป็นมูลเหตุสำคัญในการอ้างอิงถึงการพบพระนางพญาในกรุอื่นๆ ที่ จ.พิษณุโลก รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการพบพระพิมพ์ที่มีเนื้อหาและพิมพ์ทรงแบบเดียวกันกับพระนางพญาจากกรุวัดนางพญาทุกประการในหลายๆ กรุ อาทิ วัดอินทรวิหาร และวัดเลียบ เป็นต้น สันนิษฐานว่าเป็นพระได้มาในคราวปี พ.ศ.2444 แล้วได้นำมาบรรจุตามกรุพระเจดีย์ต่างๆ ซึ่งจะมีจำนวนมากบ้างน้อยบ้าง และเมื่อผ่านกาลเวลา สภาพองค์พระก็จะแตกต่างกันไปตามสภาพกรุที่บรรจุ

2021-11-02-195458

พิมพ์เข่าตรง

ยังปรากฏหลักฐานจากบันทึกของ ‘ท่านตรียัมปวาย’ ว่ามีการพบพระพิมพ์นางพญากรุวัดนางพญาขึ้นที่กรุวัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร จากการสืบสาวเรื่องราวได้พบว่าเป็นนางพญาพิมพ์เดียวกับกรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก พร้อมหลักฐานที่สอดคล้องกัน จากคำจารึกบนแผ่นลานเงิน ลานทอง และลานนาก มีความว่า ‘…พระพิมพ์ที่บรรจุอยู่ในกรุนี้ เป็นพระพิมพ์ที่เอามาจากวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จประพาสจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนมัสการพระพุทธชินราชและทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ในวาระดิถีอันเป็นมหามงคลนี้ ได้มีราษฎรผู้จงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท นำพระพิมพ์มาถวายแด่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นอันมาก และเมื่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับไว้ ก็ได้พระราชทานจ่ายแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายใหญ่น้อย ตลอดจนบรรดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จในครั้งนั้นโดยทั่วถึงกัน และเนื่องจากพระพิมพ์นี้มีจำนวนมาก ส่วนหนึ่งจึงได้มีผู้รวบรวมมาบรรจุไว้ในกรุพระเจีดย์นี้ ...’

2021-11-02-195535

พิมพ์อกนูนใหญ่

พระนางพญา วัดนางพญา เป็นพระเนื้อดินเผา องค์พระจึงมีหลายสีและหลายขนาดตามลักษณะของพระเนื้อดินเผาทั่วไป พุทธศิลปะเป็นศิลปะผสมผสานระหว่างสุโขทัยและอยุธยา พิมพ์ทรงรูปสามเหลี่ยม มีการตัดขอบแม่พิมพ์ด้วยตอกชิดองค์พระ องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย พระเกศเมาลีมีลักษณะคล้ายปลีกล้วย พระหัตถ์ขวาพาดที่พระชานุ (หัวเข่า) พระหัตถ์ซ้ายวางตรงหน้าพระเพลา (หน้าตัก) ในลักษณะอ่อนช้อย ส่วนด้านหลังเป็นหลังเรียบ แต่ด้วยผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน จึงมีรอยเหี่ยวย่นจากการหดตัวของเนื้อมวลสาร โดยสามารถแบ่งแยกพิมพ์ได้ 6 พิมพ์ คือ พิมพ์เข่าโค้ง, พิมพ์เข่าตรง, พิมพ์อกนูนใหญ่, พิมพ์สังฆาฏิ, พิมพ์เทวดา และ พิมพ์อกนูนเล็ก

 2021-11-02-195602

พิมพ์เทวดา (อกแฟบ)

พระนางพญา วัดนางพญา นับเป็นพระเครื่องที่มีความสำคัญ ที่ปรากฏหลักฐานการสร้างและการค้นพบมาแต่โบราณ และด้วยพุทธลักษณะอันงดงามสง่า กอปรกับพุทธาคมที่ปรากฏเป็นเลิศทั้งเมตตามหานิยม อำนาจวาสนาบารมี และแคล้วคลาด คงกระพันชาตรีครบครันเป็นที่กล่าวขาน จึงได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งใน “พระชุดเบญจภาคี” สุดยอดพระเครื่องของเมืองไทย ที่ ณ ปัจจุบันเป็นที่ใฝ่ฝันและแสวงหาด้วยค่านิยมที่สูงเอามากๆ

 

#พระนางพญาเข่าโค้ง องค์แชมป์
#พระนางพญา ปลอม
#สมเด็จ นางพญา เข่าโค้ง พิมพ์ทรง ใหญ่
#พระนางพญา อิทธิฤทธิ์
#เนื้อพระนางพญาเข่าโค้ง
#พระ นางพญา ราคาแพงที่สุด
#วิธีดูพระนางพญาแท้
#พุทธคุณพระนางพญาเข่าโค้ง

แหล่งข้อมูล
อ.ราม วัชรประดิษฐ์
bandidsqn401แห่ง palungjit.org
www.arjanram.com
https:// www.siamrath.co.th/n/47267

Quote
Topic starter Posted : 04/12/2021 6:10 am
Share: